Skip to main content

หน้าหลัก

ไต้หวันมีศักยภาพการแข่งขันขยับขึ้นเป็นอันดับ 6 ของโลก

 

ไต้หวันมีศักยภาพการแข่งขันขยับขึ้นเป็นอันดับ 6 ของโลก

 

          สถาบันระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาการจัดการ หรือ IMD ( International institute for Management Development) ซึ่งเป็นสถาบันด้านธุรกิจชั้นนำของโลกจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เผยรายงานการจัดอันดับศักยภาพการแข่งขันของ 59 ประเทศทั่วโลก ประจำปี 2011 โดยปีนี้ไต้หวันมีอันดับดีกว่าปีที่แล้ว 2 อันดับ ขยับขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 6 ของโลก และเป็นสถิติที่ดีที่สุดในรอบ 10 กว่าปีที่ผ่านมา โดยแซงหน้าแคนาดาและออสเตรเลีย ขณะที่ฮ่องกงมีความสามารถในแข่งขันที่ดีขึ้น จนสามารถครองแชมป์ร่วมกับสหรัฐได้ในปีนี้ และสำหรับในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก ไต้หวันมีความสามารถในการแข่งขันเป็นรองเพียงฮ่องกง และสิงคโปร์เท่านั้น โดยคู่แข่งด้านเศรษฐกิจที่สำคัญของไต้หวันอย่างเกาหลีใต้ ปีนี้ตกอยู่ในอันดับที่ 22 ส่วนจีนแผ่นดินใหญ่และญี่ปุ่น ตกไปอยู่ในอันดับที่ 19 และ 26 ตามลำดับ

นายหยางหย่งหมิง โฆษกรัฐบาลเปิดเผยว่า จากการจัดอันดับของ IMD จะเห็นว่าช่วงสองปีนี้ ไต้หวันมีอันดับความสามารถในการแข่งขันที่ดีขึ้น เป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่า นับจากเกิดสึนามิการเงินเป็นต้นมา ศักยภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของไต้หวันได้กลับมาเข้มแข็งขึ้นอีกครั้ง โดยระบุว่า ไต้หวันได้ก้าวหน้าขึ้นอีก 2 อันดับ มาอยู่ในอันดับที่ 6 ซึ่งในกลุ่มประเทศที่รับการจัดอันดับทั่วโลกครั้งนี้ เมื่อรวมผลคะแนนในด้านต่างๆ สิบกว่าด้านเข้าด้วยกันแล้ว ปีนี้ไต้หวันมีความสามารถในการแข่งขันเป็นอันดับ 6 ของโลก นับเป็นความสำเร็จอีกด้านหนึ่งที่วงการนักวิชาการด้านการเงินและเศรษฐกิจให้การยอมรับ   

 

          คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ไต้หวัน ประมาณการณ์ว่า การที่ไต้หวันได้รับการจัดอันดับที่ดีขึ้นเช่นนี้ ปัจจัยหลักเป็นเพราะอานิสงส์จากข้อตกลง ECFA โดยนายหูจ้งอิง รองประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติไต้หวัน กล่าวว่า กรอบข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสองฝั่งช่องแคบไต้หวัน (ECFA)  ช่วยทำให้การค้าระหว่างสองฝั่งช่องแคบไต้หวันมั่นคงยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ผลจากการลดภาษีและสิทธิประโยชน์ปลอดภาษี ส่งผลให้การส่งออกของไต้หวันมีศักยภาพการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งได้รับผลประโยชน์สูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ หลังจากที่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวันผ่อนคลายความตึงเครียดลง นักท่องเที่ยวชาวจีนแผ่นดินใหญ่ได้เดินทางมาท่องเที่ยวไต้หวันจำนวนมากขึ้น ซึ่งปีที่แล้วมีจำนวนราว 1.5 -1.6 ล้านคน คิดเป็น 1 ใน 4 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด ซึ่งจุดนี้มีส่วนช่วยในด้านการบริโภคของภาคเอกชน ตลอดจนช่วยสร้างโอกาสงานที่มากขึ้น

 
           ด้าน Suzanne Rosselet รองผู้อำนวยการศูนย์การจัดอันดับศักยภาพการแข่งขันระดับโลก สถาบัน IMD วิเคราะห์ว่า ข้อตกลง ECFA เป็นตัวขยายตลาดทางการค้าให้กับสองฝั่งช่องแคบไต้หวัน ปรับปรุงความสัมพันธ์ในช่องแคบไต้หวันให้ดีขึ้น รวมทั้งเพิ่มความมั่นใจและผลในแง่บวก ซึ่งมีผลและช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับไต้หวันอย่างมาก พร้อมชี้ว่า หลายปีที่ผ่านมาไต้หวันประสบกับภัยธรรมชาติหลายครั้ง แต่ปธน.หม่าได้ใช้ความพยายามอย่างที่สุดในการรักษาเสถียรภาพทางการเมือง การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับภาคธุรกิจ เป็นการพัฒนาในทางบวก นอกจากนี้ ไต้หวันยังมีศักยภาพในด้านต่างๆ ที่สูง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการวิจัยพัฒนา ภาคธุรกิจเอสเอมอี การปรับตัวของภาคธุรกิจ การผลิต ตลอดจนการส่งออกสินค้าไฮเทคโนโลยี

 

แหล่งที่มา :  สนร.ไทเป


425
TOP