การเมืองการปกครอง
รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ประกาศใช้ ณ วันที่ 1 มกราคม 1947 และได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดคือปี 2005 ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์บ้านเมืองของแต่ละช่วงเวลาในประเทศ จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเดือนมิถุนายนปี 2005 จำนวนสมาชิกในสภานิติบัญญัติไต้หวันถูกลดลงครึ่งหนึ่งจาก 225 คนเป็น 113 คน และกำหนดให้วาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภานิติบัญญัติ เพิ่มขึ้นจาก 3 ปีเป็น 4 ปี ภายใต้ระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติรูปแบบใหม่นี้ แต่ละเขตเลือกตั้งจะเลือกได้เพียงที่นั่งเดียว ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะได้บัตรลงคะแนนเสียง 2 ใบ (สำหรับส.ส.แบบแบ่งเขต และสำหรับพรรคการเมือง หรือ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์) ตลอดจนอำนาจในการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ตกเป็นของพลเมือง ผ่านการลงประชามติ นับแต่นั้นเป็นต้นมา
ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และสามารถได้รับเลือกตั้งซ้ำได้อีก 1 วาระ ประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นผู้นำของประเทศและเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด รวมทั้งเป็นตัวแทนของประเทศในการติดต่อสัมพันธ์ทางการทูต
ระหว่างประเทศ ตลอดจนมีอำนาจในการแต่งตั้งประธานสภาทั้ง 4 รวมถึงนายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ในการเป็นผู้นำสภาบริหารและคณะรัฐมนตรี และเป็นผู้รายงานแนวทางการดำเนินนโยบายและผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการดำเนินนโยบายต่อสภานิติบัญญัติ นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังมีอำนาจแต่งตั้งรัฐมนตรีของแต่ละกระทรวง ประธานคณะกรรมการ และหน่วยงานต่างๆ ภายใต้สภาบริหาร และก่อตั้งขึ้นเป็นคณะรัฐมนตรี
การแต่งตั้งสมาชิกสภาตรวจสอบและสภาสอบคัดเลือกของประธานาธิบดี รวมถึงผู้พิพากษาของสภาตุลาการ ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติ นอกจากนี้ สมาชิกสภานิติบัญญัติยังต้องลงมติเลือกประธานสภาฯ และโฆษกสภาฯ โดยทำการคัดเลือกจากสมาชิกสภานิติบัญญัติที่ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในสภา
ระดับการปกครองของไต้หวัน
รัฐบาลส่วนกลางประกอบด้วยประธานาธิบดีและสภาทั้ง 5 หรือเรียกว่า yuan ส่วนรัฐบาลท้องถิ่นในปัจจุบัน ประกอบด้วย 6 กรุง นคร 13 เมือง และ 3 เทศบาลเมือง ซึ่งมีลำดับสถานะเช่นเดียวกับเมือง นับตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา ผู้ว่าการและสมาชิกสภานครและเมืองของรัฐบาลท้องถิ่นทั่วทุกพื้นที่ในไต้หวัน ได้มีการจัดการเลือกตั้งขึ้นพร้อมกันในทุก 4 ปี โดยครอบคลุมไปถึงตำบล อำเภอ เมือง 198 แห่ง และอีก 170 เขต โดยในจำนวนนี้ ประกอบด้วย 6 กลุ่มชนพื้นเมืองเขตภูเขาในไต้หวัน
เทศบาลนครเป็นหน่วยงานบริหารระดับสูงที่สุด ภายใต้การกำกับ ดูแลของรัฐบาลกลาง โดยเทศบาลนครมีบทบาทสำคัญในการบริหารพัฒนาพื้นที่ในภูมิภาค โดยจะได้รับงบประมาณในการสนับสนุนที่สูงและมีโอกาสในการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพิ่มเติมและสามารถว่าจ้างข้าราชการในอัตราที่เพิ่มมากขึ้น โดยเทศบาลนครทั้ง 6 นั้น เรียงลำดับตามจำนวนประชากร ดังนี้ นิวไทเป ไถจง เกาสง ไทเป เถาหยวน และไถหนาน
การปรับหน่วยงานภายใต้สภาบริหารได้เริ่มดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อต้นปี 2012 โดยหน่วยงานภายใต้สภาบริหารแบ่งออกเป็น 14 กระทรวง 8 คณะกรรมการ 3 องค์กรอิสระ และ 4 องค์กรอื่นๆ ภายใต้รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีของประธานาธิบดี หรือการแต่งตั้งรัฐมนตรีของ
นายกรัฐมนตรี ถูกจำกัดให้อยู่ภายใต้การให้ความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติ
ตำแหน่งประธานาธิบดีและตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และสามารถได้รับเลือกตั้งซ้ำได้อีก 1 วาระ ประธานาธิบดีททำหน้าที่เป็นผู้นนำของประเทศและเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด อีกทั้งยังเป็นตัวแทนของประเทศในการติดต่อสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศ ตลอดจนมีออำนาจในการแต่งตั้งประธานสภาทั้ง 4 รวมถึงนายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ในการเป็นผู้นำสภาบริหารและคณะรัฐมนตรี และเป็นผู้รายงานแนวทางการดำเนินนโยบายและผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการดำเนินนโยบายต่อสภานิติบัญญัติ นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังมีออำนาจแต่งตั้งรัฐมนตรีของแต่ละกระทรวง ประธานคณะกรรมการ และหน่วยงานต่างๆ ภายใต้สภาบริหาร และก่อตั้งขึ้นเป็นคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาให้การดำเนินงานด้านการบริหารเกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงได้มีการปรับลดจำนวนหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของสภาบริหาร จาก 37 หน่วยงานให้เหลือเพียง 29 หน่วยงาน การปรับหน่วยงานภายใต้สภาบริหารได้เริ่มดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อต้นปี 2012 โดยหน่วยงานภายใต้สภาบริหารแบ่งออกเป็น 14 กระทรวง 8 คณะกรรมการ 3 องค์กรอิสระ และ 4 องค์กรอื่นๆ ภายใต้รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีของประธานาธิบดี หรือการแต่งตั้งรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี ถูกจำกัดให้อยู่ภายใต้การให้ความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติ การแต่งตั้งสมาชิกสภาตรวจสอบและสภาสอบคัดเลือกของประธานาธิบดี รวมถึงผู้พิพากษาของสภาตุลาการ ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติ นอกจากนี้ สมาชิกสภานิติบัญญัติยังต้องลงมติเลือกประธานสภาฯ และโฆษกสภาฯ โดยทำการคัดเลือกจากสมาชิกสภานิติบัญญัติที่ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในสภา
พรรคการเมือง
คำว่า “พรรคฝ่ายรัฐบาล” หมายถึงพรรคการเมืองที่มีสิทธิครองอำนาจในทำเนียบประธานาธิบดี โดยที่ประธานาธิบดีมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการทำงานของพรรคฝ่ายรัฐบาล พรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในไต้หวันมากว่า 5 ทศวรรษ ก่อนที่พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) จะชนะการเลือกตั้งในปี 2000 และ 2004 พรรค KMT ได้อำนาจคืนมาอีกครั้งในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2008 และ 2012 พรรค DPP กลับมาชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีอีกครั้ง ในปี 2016 และ 2020 นับเป็นการถ่ายโอนอำนาจบริหารครั้งที่ 3 นับตั้งแต่ที่ประเทศก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยในการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติในเดือนมกราคมปี 2020 พรรค DPP คว้าที่นั่งในสภาได้ร้อยละ 54 ในขณะที่พรรค KMT ได้รับที่นั่งร้อยละ 34 ส่วนพรรคการเมืองอื่นๆ ที่มีที่นั่งในสภานิติบัญญัติ ประกอบด้วย พรรคประชาชนไต้หวัน (TPP) พรรคพลังใหม่ (NPP) และพรรคสร้างชาติไต้หวัน (TSP)
แหล่งข้อมูล : 2020-2021 Taiwan at a Glance (กระทรวงการต่างประเทศไต้หวัน)
8909