Skip to main content

หน้าหลัก

ข้อมูลด้านแรงงาน

ข้อมูลด้านแรงงาน 

1.1 ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2567 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ และกระทรวงแรงงานไต้หวัน) ไต้หวันมีประชากรทั้งหมด  23,409,323 คน มีอายุ 15 ปี ขึ้นไปจำนวน16,841,118 คน กำลังแรงงาน 12,026,000 คน มีงานทำ 11,611,000 คน ว่างงาน 415,000 คน (หรือคิดเป็น ร้อยละ 3.45 ของกำลังแรงงาน) เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนกำลังแรงงาน ไต้หวันอนุญาตให้มีการนำเข้าแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานเพื่อการพัฒนาประเทศ แบ่งเป็น

(1) แรงงานฝีมือ (White Collars) จำนวน 50,017 คน เช่น วิศวกร สถาปนิก แพทย์ พยาบาล พ่อครัว ฯลฯ โดยจำนวนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ มาเลเซีย (8,041) ญี่ปุ่น (6,112) อินโดนีเซีย (5,865) เวียดนาม (5,005) อินเดีย (3,048) สำหรับไทยมีจำนวน 2,055 คน

(2) แรงงานที่ไม่ต้องใช้ฝีมือเป็นตัวกำหนด (Blue Collars) หรือ แรงงานไร้ฝีมือ รวมทั้งสิ้น 793,544 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานจาก 4 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย (291,404 คน) เวียดนาม (274,811 คน) ฟิลิปปินส์ (155,533 คน) และไทย (71,794 คน) ตามลำดับ โดยแรงงานไทยที่อยู่ในความรับผิดชอบของ
สนร. ไทเป 12 เมือง (ไทเป นิวไทเป จีหลง เถาหยวน ซินจู๋ เหมียวลี่ ไทจง หนันโถว ฮัวเหลียน อี๋หลาน จินเหมิน และเหลียนเจียง) จำนวน 49,744 คน

(3) แรงงานกึ่งฝีมือ ซึ่งปัจจุบันมีแรงงานไทยจำนวน 371 คน เป็นแรงงานกึ่งฝีมือ (ข้อมูลจากเอกสารขอรับรองการจ้างแรงงานไทย)

สำหรับโครงสร้างตลาดแรงงานในกลุ่มแรงงานไร้ฝีมือ แบ่งได้ดังนี้ 1)  ภาคอุตสาหกรรมการผลิต 2) ภาคการก่อสร้าง 3) ภาคสวัสดิการสังคม และ
4) ภาคการเกษตร ประมง ป่าไม้

ประเทศ

ภาคผลิต

ก่อสร้าง

เกษตร  

สวัสดิการสังคม

รวม

ร้อยละของแรงงานต่างชาติทั้งหมด

1. อินโดนีเซีย

86,160

5,810

11,201

188,233

291,404

36.72

2. เวียดนาม

228,041

10,838

7,958

27,974

274,811

34.63

3. ฟิลิปปินส์

126,813

480

1,525

26,715

155,533

19.60

4. ไทย

55,929

14,834

 663

368

71,794

9.05

5. อื่นๆ

2

0

0

0

2

0.0003

รวม

496,945

31,962

21,347

243,290

793,544

100

อุตสาหกรรมที่มีแรงงานไทยทำงานสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. Fabricated Metal Product (13,403 คน) 2. Basic metals (6,051 คน) 3. Textiles (3,912 คน)

 

 1.2 จากข้อมูลสถิติของกระทรวงแรงงานพบว่า ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2567  ปัจจุบันไต้หวันอนุมัติให้แรงงานต่างชาติจาก 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ไทย และมาเลเซีย) เข้ามาทำงาน โดยมีสัดส่วนของแรงงานต่างชาติที่มีจำนวนมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ อินโดนีเซีย 36.72% เวียดนาม 34.63% ฟิลิปปินส์ 19.60% (ไทยอยู่ลำดับที่ 4 จำนวน 9.05%)

เมื่อจำแนกตามประเภทงาน พบว่า แรงงานต่างชาติทำงานในภาคการผลิต 62 % รองลงมา คือ ภาคสวัสดิการสังคม 30% (ผู้อนุบาลและผู้ช่วยงานบ้าน)

เมื่อจำแนกตามประเทศผู้ส่ง พบว่า แรงงานเวียดนามและอินโดนีเซียมาทำงานสูงเทียบเท่ากัน โดยแรงงานเวียดนามครองตลาดดภาคการผลิต แรงงานอินโดนีเซียครองตลาดภาคสวัสดิการสังคม (ผู้อนุบาล) ส่วนแรงงานไทยครองตลาดภาคก่อสร้าง

จากสถิติกระทรวงแรงงานไต้หวัน เมื่อจำแนกตามเมือง พบว่าแรงงานต่างชาติทำงานมากที่สุดอันดับหนึ่งได้แก่ เถาหยวน 136,926 คน มีแรงงานไทยจำนวน 21,483 คน  อันดับสองไทจง 112,989 คน มีแรงงานไทย 10,987 คน และอันดับสาม นิวไทเป 101,389 คน มีแรงงานไทย 8,306 คน

 

ข้อมูลจาก กระทรวงแรงานไต้หวัน 


4513
TOP