ค่าจ้าง
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ไต้หวันกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เดือนละ 24,000 TWD. หรือเท่ากับวันละ 800 TWD. หรือชั่วโมงละ 100 TWD.
จำนวนชั่วโมงทำงาน
- ชั่วโมงทำงานในวันปกติ จะต้องไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง และไม่เกิน 40 ชั่วโมง ใน 1 สัปดาห์
- หากทำงานล่วงเวลาต้องไม่เกิน 54 ชั่วโมงใน 1 เดือน รวมสะสมใน 3 เดือน ไม่เกิน 138 ชั่วโมง
วันหยุดประจำสัปดาห์
ทำงานทุก 7 วัน จะมีวันหยุดประจะสัปดาห์ 2 วัน (ในจำนวนนี้ มี 1 วัน เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ที่ทำงานล่วงเวลาไม่ได้ อีก 1 วัน เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ที่ทำงานล่วงเวลาได้) โดยนายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาใน 2 ชั่วโมงแรก ชั่วโมงละ 133 TWD. ชั่วโมงที่ 3 เป็นต้นไป ชั่วโมงละ 167 TWD.
ค่าทำงานล่วงเวลาในวันปกติและวันหยุดราชการ
- ค่าทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติ ชั่วโมงที่ 1 – 2 จะได้รับชั่วโมงละ 133 TWD. (100 x 1.33)
- ชั่วโมงที่ 3 – 4 จะได้รับชั่วโมงละ 167 TWD. (100 x 1.67)
- วันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ได้รับค่าจ้างเท่ากับชั่วโมงทำงานปกติเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่า หากทำงานทั้งวัน 8 ชั่วโมง จะได้รับค่าจ้าง 800 TWD.
การลางาน
ค่าเบี้ยประกันภัยแรงงานและประกันสุขภาพของแรงงานต่างชาติ (คำนวณจากอัตราค่าจ้าง 24,000 TWD./เดือน)
- เบี้ยประกันภัยแรงงาน แรงงานรับผิดชอบ 504 นายจ้างรับผิดชอบ 1,764 TWD.
- เบี้ยประกันสุขภาพ แรงงานรับผิดชอบ 372 นายจ้างรับผิดชอบ 1,176 TWD.
การประกันสุขภาพ
ลูกจ้างทุกคนต้องเข้าเป็นสมาชิกและได้รับการคุ้มครองด้านการรักษาพยาบาลภายใต้กฎหมายกองทุนประกันสุขภาพ (เจี้ยนเป่า) โดยมีเงื่อนไขดังนี้
ผู้ป่วยนอก
|
ได้รับความคุ้มครองในเรื่องค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนฯ ในอัตรา 90% ส่วนที่เหลือ 10% ลูกจ้างต้องรับผิดชอบจ่ายเอง |
ผู้ป่วยใน |
จะได้รับความคุ้มครองในเรื่องค่ารักษาพยาบาลในอัตราเดียวกับผู้ป่วยนอก และหากผู้ป่วยรับการรักษาในโรงพยาบาล ตั้งแต่คืนที่สี่เป็นต้นไปจะได้รับเงินช่วยเหลือชดเชยค่าจ้างเพิ่มอีกจำนวนหนึ่ง
|
ผู้ป่วยต้องเป็นผู้จ่ายค่าลงทะเบียนด้วยตนเองทุกครั้งที่เข้ารับการรักษา เป็นเงินครั้งละ 100 – 500 TWD. ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยใน นอกจากนี้กองทุนฯ จะไม่คุ้มครองค่ารักษาโรคบางประเภท เช่น การติดยาเสพติด การแท้งลูก ทำฟันปลอม ตาเทียม เป็นต้น
การประกันภัยแรงงาน
ลูกจ้างทุกคน (ยกเว้นลูกจ้างตำแหน่งผู้อนุบาลและผู้ช่วยงานบ้าน) จะต้องเข้าเป็นสมาชิกกองทุนประกันภัยแรงงานไต้หวัน (เหลาเป่า) โดยกองทุนฯ มีเงื่อนไขการจ่ายเงินดังนี้
กรณีเจ็บป่วย/ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน ลูกจ้างจะได้รับเงินค่าจ้างตามปกติในช่วงระหว่างหยุดงานรักษาตัว ส่วนเงินทดแทนกรณีทุพพลภาพจะขึ้นอยู่กับระเบียบการจ่ายเงินของกองทุนประกันภัยแรงงาน
กรณีเจ็บป่วย/ประสบอันตรายนอกงาน ลูกจ้างจะได้รับเงินค่าจ้างครึ่งหนึ่งของค่าจ้างรายเดือนในช่วงระหว่างหยุดงานรักษาตัว ทั้งนี้รวมทั้งปีต้องไม่เกิน 30 วัน
กรณีเสียชีวิต (ยกเว้นผู้อนุบาลและผู้ช่วยงานบ้าน)
1) ลูกจ้างที่เสียชีวิตไม่ว่าจากการทำงานหรือนอกเวลาทำงาน ทายาทมีสิทธิได้รับเงินค่าจัดการศพเท่าที่จ่ายจริง หรือไม่เกินจำนวน 5 เท่า ของเงินเดือนที่เอาประกัน
2) ลูกจ้างที่เข้าประกันก่อนวันที่ 1 มกราคม 2552 เสียชีวิต ทายาทจะได้รับเงินทดแทนเป็นก้อนครั้งเดียว โดยมีเงื่อนไขการจ่ายเงิน ดังนี้
- เสียชีวิตนอกเวลาทำงาน ทายาทจะได้รับเงินทดแทนตามอายุงานของลูกจ้าง ดังนี้
อายุงานไม่ถึง 1 ปี |
ได้รับจำนวน 10 เท่าของเงินเดือนที่เอาประกัน |
อายุงานเกิน 1 ปี แต่ไม่ถึง 2 ปี |
ได้รับ 20 เท่าของเงินเดือนที่เอาประกัน |
อายุงานเกิน 2 ปี ขึ้นไป |
ได้รับจำนวน 30 เท่าของเงินเดือนที่เอาประกัน |
- เสียชีวิตจากการทำงาน ทายาทจะได้รับเงินทดแทนจำนวน 40 เท่าของเงินเดือนที่เอาประกัน ไม่ว่าลูกจ้างจะมีอายุงานนานเท่าใดก็ตาม
3) ลูกจ้างที่เข้าประกันหลังวันที่ 1 มกราคม 2552 เสียชีวิต กองทุนฯ จะจ่ายเงินทดแทนให้ทายาทเป็นรายเดือน ดังนี้
- เงินทดแทนรายเดือนในอัตรา55% ของเงินเดือนที่เอาประกันโดยเฉลี่ย 1 ปี ตามอายุงานของลูกจ้าง หากจำนวนเงินไม่ถึง 3,000 TWD. กองทุนฯ จะจ่ายให้ 3,000 TWD.
- หากลูกจ้างเสียชีวิตอันเนื่องจากการทำงาน นอกเหนือจากเงินทดแทนรายเดือน ทายาทจะได้รับเงินทดแทนเพิ่มอีก 10 เท่าของเงินเดือนที่เอาประกัน โดยกองทุนฯ จะจ่ายเป็นก้อนครั้งเดียว
- หากทายาทที่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนรายเดือนในลำดับเดียวกันมีมากกว่า 1 คน กองทุนฯ จะจ่ายเงินทดแทนรายเดือนเพิ่มขึ้นในอัตราคนละ 25% สูงสุดไม่เกิน 50%
- ทายาทจะได้รับเงินทดแทนรายเดือนไปจนตลอดชีพ (ยกเว้นกรณีที่ทายาทเป็นคู่สมรสไปสมรสใหม่) ทั้งนี้กองทุนฯ จะหักค่าโอนเงินจากเงินที่จะโอนในแต่ละครั้งเป็นเงินประมาณ 300 TWD
การขอรับเงินสงเคราะห์กรณีทายาทสายเลือดตรงเสียชีวิต (บิดามารดา คู่สมรส และบุตร) กองทุนฯ มีเงื่อนไขการจ่ายเงิน ดังนี้
บิดามารดาหรือคู่สมรสเสียชีวิต |
ได้รับ 3 เดือนของเงินเดือน |
บุตรอายุ 12 ปีขึ้นไปเสียชีวิต |
ได้รับ 2 เดือนของเงินเดือน |
บุตรอายุไม่ถึง 12 ปีเสียชีวิต |
ได้รับ 1.5 เดือนของเงินเดือน |
โดยต้องจัดเตรียมเอกสาร ดังนี้
- แบบคำร้องขอรับเงินของลูกจ้างผู้ยื่นขอ
- สำเนาหนังสือเดินทาง / ใบถิ่นที่อยู่
- ใบมรณะบัตร/ทะเบียนบ้าน/หลักฐานเอกสารที่แสดงความสัมพันธ์ทางสายเลือดของลูกจ้างผู้ยื่นขอและผู้เสียชีวิต (เช่น ทะเบียนสมรส สูติบัตร เป็นต้น) ทั้งนี้เอกสารจะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษและผ่านการรับรองจากกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ไทเป ประจำประเทศไทย
2514