Skip to main content

หน้าหลัก

รัฐสภาไต้หวันให้การรับรองกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Economic Cooperation Framework Agreement: ECFA)

รัฐสภาไต้หวันให้การรับรองกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ(Economic Cooperation Framework Agreement: ECFA)

            เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2553 ที่ผ่านมารัฐสภาไต้หวันได้ให้การรับรองกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ(ECFA) ระหว่างไต้หวันและจีนแผ่นดินใหญ่ แม้ว่าพรรคฝ่ายค้าน (Democratic Progressive Party: DPP) จะประท้วงโดยการไม่เข้าร่วมประชุม

            นักกฎหมายจากพรรคฝ่ายค้าน (DPP) และพรรครัฐบาล (Koumintang Party: KMT) ได้เห็นชอบร่วมกันที่จะพิจารณากรอบความร่วมมือ ECFA เป็นรายมาตราทั้ง 16 มาตรา  ซึ่งผลการโหวตในวาระแรกผ่านทุกมาตรา ทำให้พรรคฝ่ายค้านตัดสินใจประท้วงการโหวตในวาระที่ 2 และที่ 3

             โฆษกรัฐสภา  Mr. Wang Jin-pyng ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่ารัฐสภาให้การรับรองกรอบความร่วมมือฯ ดังกล่าว และเอกสารอีก 5 ฉบับที่แนบมากับกรอบความร่วมมือฯ  ซึ่งได้แก่ รายชื่อสินค้าและบริการที่จะมีการลดภาษีหรือไม่เสียภาษีก่อน (early harvest list)  กฎของแหล่งกำเนิดสินค้า มาตรการช่วยเหลือทางการค้า และคำจำกัดความของผู้ให้บริการ  นอกจากนี้ยังกล่าวว่า กรอบความร่วมมือฯนี้ถือเป็นกรอบความร่วมมือฯฉบับแรกที่ผ่านการพิจารณา 3 วาระโดยรัฐสภา ซึ่งปกติจะมีเพียงกฎหมาย และพระราชบัญญัติงบประมาณเท่านั้นที่ต้องผ่านการพิจารณา 3 วาระ

            กระทรวงเศรษฐการคาดว่า ECFA จะเริ่มดำเนินการได้ในเดือนหน้า แต่ในส่วนของการลด หรือยกเลิกภาษีศุลกากรของสินค้าที่ตกลงร่วมกันจะมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2554  นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการจัดตั้งกลไกในการหารือร่วมกัน รวมถึงการจัดประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างช่องแคบ เพื่อทบทวนแนวปฏิบัติทางการค้าที่จะดำเนินการภายหลัง ECFA มีผลในทางปฏิบัติ

            ภายใน 6 เดือนที่ ECFA เริ่มดำเนินการ ทั้งสองฝ่ายจะเริ่มการหารือร่วมกันในเรื่องการคุ้มครองการลงทุน กลไกในการจัดการข้อขัดแย้ง การค้าสินค้าและบริการ การหารือนี้จะดำเนินการระหว่าง Taipei-based Straits Exchange Foundation (SEF) และ Beijing-based Association for relations Across the Taiwan Strait (ARATS)

            Mr. Chiang Pin-kung ประธาน SEF กล่าวว่าสำนักงานการค้าที่จะจัดตั้งขึ้นใน 2 ประเทศภายใต้ข้อตกลง ECFA นั้นจะอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจของสองประเทศ  นอกจากนี้ ยังกล่าวว่าองค์กรทางการค้า เช่น สมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิคไต้หวัน และสมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งชาติไต้หวัน สามารถที่จะจัดตั้งสำนักงานในทั้งสองประเทศภายใต้ ECFA ได้ กรอบความร่วมมือฯนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักธุรกิจไต้หวันที่มีธุรกิจในจีนแผ่นดินใหญ่

 

ที่มา : สนร.ไทเป ข่าว China Post
 


1078
TOP