นับตั้งแต่ยุคปลายราชวงศ์เช็งเป็นต้นมา ประเทศจีนต้องตกอยู่ในชะตากรรมที่ถูกประเทศมหาอำนาจข่มเหง ตัดแบ่งดินแดน จนเกือบจะสิ้นสภาพความเป็นประเทศ กระทั่ง ดร.ซุน ยัดเซ็น บิดาแห่งสาธารณรัฐจีนได้นำพาการปฏิวัติลุกขึ้นสู้เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายหลายครั้ง ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จในการลุกขึ้นสู้ครั้งที่ 11โค่นล้มราชวงศ์เช็งลงได้เป็นผลสำเร็จ สถาปนาประเทศสาธารณรัฐแรกขึ้นในเอเชียคือ “สาธารณรัฐจีน”
หลังจากที่สาธารณรัฐจีนสถาปนาเป็นประเทศขึ้นในปี 2454 เวลาผ่านมาแล้วครบ 100 ปีพอดิบพอดี ซึ่งในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา สาธารณรัฐจีนได้ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านการเปลี่ยนแปลงล้มลุกคลุกคลานมานับครั้งไม่ถ้วน เมื่อถึงปี 2481เกิดสงครามภายในประเทศระหว่างพรรคก๊กมิ่นตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ส่งผลให้รัฐบาลของพรรคก๊กมิ่นตั๋งต้องอพยพมายังไต้หวัน กลายเป็นรัฐบาลสาธารณรัฐจีนในไต้หวัน ได้รับประสบการณ์ที่แลกมาด้วยเลือดและน้ำตาจากจีนแผ่นดินใหญ่ จนสร้างปาฏิหาริย์อย่างต่อเนื่องในไต้หวัน ในช่วง 60ปีเศษที่ผ่านมา ได้ดำเนินการปฏิรูปที่ดิน ให้ความช่วยเหลือกิจการภาคเอกชน ผลักดันแผนพัฒนา 10ประการ ส่งเสริมการยกระดับมาตรฐานการผลิตของภาคอุตสาหกรรม สร้างระบบประกันภัยแรงงาน ดำเนินนโยบายการศึกษาภาคบังคับ 9ปี ให้บริการประกันสุขภาพประชาชนทั่วประเทศ ผ่านระบบเงินบำเหน็จประชาชน สร้างเงินสำรองสะสมได้สูงถึง 380,000ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รายได้เฉลี่ยต่อหัวของชาวไต้หวัน 18,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี
เมื่อไต้หวันสาธารรัฐจีนประสบความสำเร็จทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมแล้ว สาธารณรัฐจีนได้เริ่มผลักดันการปฏิรูปประชาธิปไตยในไต้หวันตั้งแต่ปี 2530เป็นต้นมา รวมทั้งเปิดฉากการติดต่อแลกเปลี่ยนระหว่างช่องแคบไต้หวัน ในด้านการปฏิรูปประชาธิปไตย เริ่มต้นจากการยกเลิกกฎอัยการศึก อนุญาตให้มีการจัดตั้งพรรคการเมือง ยกเลิกภาวะปราบปรามจลาจล พลิกฟื้นคืนความบริสุทธิ์ให้แก่ผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุการณ์ 28กุมภาพันธ์ และ “ภัยขาว”ผลักดันการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาใหม่ทั้งชุด และเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง และเกิดการเปลี่ยนพรรครัฐบาลเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของสาธารณรัฐจีนในปี 2543 และเปลี่ยนพรรครัฐบาลอีกครั้งเป็นครั้งที่ 2 ในปี 2551 ทำให้สาธารณรัฐจีนไม่เพียงแต่กลายเป็นประเทศสาธารณรัฐประเทศแรกในทวีปเอเชียเท่านั้น หากยังกลายเป็นหนึ่งในประเทศของสังคมชาวจีนและเอเชียที่ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ในการดำเนินการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ทางด้านการผลักดันการติดต่อแลกเปลี่ยนในทุกๆ ด้านระหว่างช่องแคบไต้หวัน รัฐบาลสาธารณรัฐจีนได้อนุญาตให้ชาวไต้หวันเดินทางไปเยี่ยมญาติในจีนแผ่นดินใหญ่ได้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 2พ.ย. 2530 จนถึงปีนี้เป็นเวลากว่า 23 ปีมาแล้ว แม้ช่องแคบไต้หวันจะล้มลุกคลุกคลานมาพอสมควร แต่หลังจากปี 2551 เป็นต้นมา รัฐบาลประธานาธิบดีหม่า อิงจิ่ว ได้อาศัย “ฉันทามติปี 1992จีนเดียวอธิบายตามความหมายของแต่ละฝ่าย” เป็นพื้นฐาน รักษาสถานะปัจจุบันของช่องแคบไต้หวัน “ไม่รวม ไม่แยก และไม่รบ” ต่อไป ฟื้นฟูการเจรจากับจีนแผ่นดินใหญ่ ทำให้ในช่วงเวลาสั้น ๆ เพียง 2 ปี 7 เดือน ความสัมพันธ์ระหว่างช่องแคบไต้หวันมีความคืบหน้าจนเป็นที่จับตามองโดยทั่วไป องค์กรกลางของช่องแคบไต้หวันได้เปิดการเจรจากันแล้ว 6 ครั้ง ผลักดันการเปิดเที่ยวบินตรงระหว่างกัน อนุญาตให้นักท่องเที่ยวและนักศึกษาจีนมาท่องเที่ยวและศึกษาต่อในไต้หวัน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังรวมถึงการจัดทำความตกลงรวม 15ฉบับ ซึ่งรวมถึงความตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างช่องแคบไต้หวันหรือ ECFA ด้วย ไม่เพียงแต่ผ่อนคลายความตึงเครียดบนช่องแคบไต้หวันเท่านั้น ขณะเดียวกัน ยังเป็นการสร้างความปลอดภัยให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนบนช่องแคบไต้หวันอีกด้วย เฉกเช่นเดียวกับคำกล่าวของประธานาธิบดีหม่า อิงจิ่วที่ว่า ช่องแคบไต้หวันได้พลิกโฉมหน้าจากจุดโฟกัสที่อาจมีการปะทะกันในอดีต กลายเป็นหนทางแห่งสันติภาพในปัจจุบันแล้ว
ด้วยเหตุนี้ ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ปีครบรอบ 100ปี สถาปนาสาธารณรัฐจีนประธานาธิบดีหม่า อิงจิ่ว ผู้นำไต้หวันได้กล่าวอวยพรปีใหม่แก่ประชาชนทั่วประเทศภายใต้คำขวัญ “เสริมไต้หวันให้เข้มแข็ง ฟื้นฟูประเทศจีน” ซึ่งได้ระบุในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างช่องแคบไต้หวันว่า “ร้อยปีสันติภาพ” ผู้นำไต้หวันย้ำว่า เก็บความคิดเห็นไม่ลงรอยกันไว้ก่อน พัฒนาสันติภาพในระยะยาวบนช่องแคบไต้หวันเป็นความปรารถนาร่วมกันของประชาชนบนช่องแคบไต้หวัน ทางการของช่องแคบไต้หวันควรอาศัยการประนีประนอมขจัดความขัดแย้งกัน อาศัยความร่วมมือเข้าแทนที่การเผชิญหน้ากัน คำนึงถึงความผาสุกของประชาชนเป็นสำคัญ เปิดศักราชใหม่แห่งสันติภาพร้อยปีให้แก่ช่องแคบไต้หวัน”
การพัฒนาสันติภาพบนช่องแคบไต้หวันไม่เพียงแต่ได้รับคำชื่นชมจากสื่อนานาชาติเท่านั้น หากยังได้รับการสนับสนุนจากชาวไต้หวันโดยทั่วไปด้วย เช่น การสำรวจความเห็นของประชาชนโดยสื่อไต้หวันเมื่อเร็วๆ นี้ เป็นการสำรวจความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาในแง่มุมต่างของชาติในช่วงปีที่ผ่านมา โดยในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างช่องแคบไต้หวันมีผู้พอใจสูงสุด ร้อยละ 67 เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่ดีขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า การเปิดการติดต่อระหว่างช่องแคบไต้หวันเริ่มประสบผล ตามมาด้วยสิ่งที่ประชาชนทั่วไปปรารถนามากยิ่งขึ้นนั่นก็คือ “สันติภาพ”