Skip to main content

หน้าหลัก

ปรากฏการณ์ “working poor” ในไต้หวัน

 

 ปรากฏการณ์ “working poor” ในไต้หวัน

                    ปรากฏการณ์ “working poor” ได้สร้างความกังวลให้กับนักสิทธิแรงงานในไต้หวัน แม้ว่าจากสถิติที่เป็นทางการนั้นอัตราการว่างงานจะต่ำกว่า 5%
                    เลขาธิการ Taiwan Labour Front กล่าว่า “ถ้ามีคำที่จะสามารถอธิบายสถานการณ์แรงงานในไต้หวันในปี 2553 ที่ผ่านมา คำคำนั้นก็ คือ “working poor” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่จะคงอยู่กับแรงงานไต้หวันไปอีกนาน” แม้ว่าอัตราการว่างงานในไต้หวันจะอยู่ที่ 4.67% ในเดือนธันวาคม 2553 ซึ่งแสดงให้เห็นว่านโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้อัตราการว่างงานลดลงต่ำกว่า 5% นั้นประสบผลสำเร็จ
                    อย่างไรก็ตาม อัตราค่าจ้างเฉลี่ยท้องถิ่นรายเดือนที่ 42,141 เหรียญไต้หวัน (1,451 เหรียญสหรัฐ) ในปี 2553 นั้นเท่ากับอัตราค่าจ้างในปี 2551 และจากสถิติของสำนักงบประมาณ การบัญชี และสถิตินั้น จำนวนคนงานที่ได้รับค่าจ้างต่อเดือนน้อยกว่า 20,000 เหรียญไต้หวัน (689 เหรียญสหรัฐ) มีจำนวนถึง 1.38 ล้านคน คิดเป็น 12.4% ของกำลังแรงงานทั้งหมด 11.1 ล้านคน
 
                     สหรัฐอเมริกาได้ให้คำจำกัดความของ “working poor” ว่าหมายถึง บุคคลซึ่งทำงานอย่างน้อย 27 สัปดาห์ในระหว่างปี (ทำงาน หรือ กำลังหางานทำ) แต่รายได้ต่ำกว่าเส้นระดับความยากจนที่กำหนดโดยรัฐบาล แต่สำหรับในไต้หวันยังไม่มีการกำหนดนิยามที่ชัดเจน
                   แม้ว่ารัฐบาลจะสามารถทำให้อัตราการว่างงานลดลง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จในการแก้ปัญหา “working poor” ซึ่งสามารถนำไปสู่ปัญหาทางสังคมต่างๆ เช่น อัตราการเกิดที่ลดลง และอัตราการก่ออาชญากรรมที่สูงขึ้น
                   จากสถิติชี้ให้เห็นว่า คนงานไต้หวันได้รับค่าจ้างที่ต่ำ แม้ว่าชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อปีจะติดอันดับสูงสุด 1 ใน 5 ของโลก โดยเฉลี่ยคนงานไต้หวันจะทำงาน 2,154 ชั่วโมงในปี 2551 ซึ่งมากกว่าชั่วโมงการทำงานของชาวเยอรมันคิดเป็น 51% โดยชาวเยอรมันทำงาน 1,432 ชั่วโมงในปี 2551 แต่เงินเดือนของชาวเยอรมันคิดเป็น 3 เท่าของเงินเดือนคนงานไต้หวัน ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่าสภาพแวดล้อมของคนงานไต้หวันนั้นแย่ลง ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้ความพยายามร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆในการแก้ปัญหา ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการแรงงานไต้หวัน (CLA) เพียงหน่วยงานเดียว
 
                    นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของอัตราการว่างงานของผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งมีมากกว่า 100,000 คนที่ยังไม่สามารถหางานทำได้ภายใน 1 ปี ซึ่งคิดเป็น 45% ของผู้ว่างงานทั้งหมดนั้น ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่า นโยบายการศึกษาระดับปริญญาตรีอาจจะไม่สอดคล้องกับนโยบายด้านแรงงานและตลาดแรงงานเท่าไร

 

แหล่งที่มา : สนร.ไทเป


488
TOP